ทำความเข้าใจสินค้าเพื่อการแลกเปลี่ยน

สินค้าเป็นคำที่พวกเราทุกคนได้ยินมาแต่เล็กและเป็นคำที่วนเวียนอยู่รอบตัวในชีวิตประจำวันทั่วไป แต่คุณรู้หรือไม่ว่าสินค้าที่เราพูดกันติดปากนั้นมีหลากหลายประเภทและถูกแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบเลยทีเดียว ในบทความวันนี้จะพูดถึงเพียงสินค้าที่สำคัญที่เราควรรู้จักกันทั่วไปนั้นก็คือสินค้าโภคภัณฑ์และสินค้าอุปโภคบริโภคนั้นเอง

สินค้าโภคภัณฑ์

สินค้าโภคภัณฑ์หรือ commodity นั้นกล่าวคือเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ที่ถูกแปรรูปหรือไม่ก็ตามที่ถูกนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าทั่วไปที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันอยู่ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นพืชผลทางการเกษตร แหล่งพลังงานใต้พื้นโลก รวมไปถึงแร่ธาตุที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมการผลิตสินค้าและบริการที่เป็นอุปสงค์ของผู้บริโภคปลายสายอีกด้วย ในปัจจุบันสินค้าโภคภัณฑ์นั้นเป็นที่นิยมกับนักลงทุนรุ่นใหม่ไฟแรงในการเทรดเพื่อทำกำไรโดยใช้วิธีการเทรดแบบซื้อขายทำรายได้จากส่วนต่างความผันผวนของราคาค่าสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Stochastic Oscillator มาเป็นเครื่องมือในการจัดการกับการเทรดเพื่อเก็งกำไรนั้นเอง การวิเคราะห์การลงทุนในสินค้าประเภทนี้จะมีความผันผวนกับข่าวและเหตุการณ์บนโลกอย่างใกล้ชิดดังนั้นการใช้เครื่องมืออย่างที่กล่าวไปเข้าช่วย

ประเภทของสินค้าโภคภัณฑ์

แนวคิดของสินค้าโภคภัณฑ์จะพูดถึงในส่วนของสินค้าเพื่ออุตสาหกรรมซึ่งจะถูกแยกออกมาเป็นสามส่วนด้วยกันได้แก่วัตถุดิบสินค้าทุนและวัสดุใช้สอยโดยในประเภทของสินค้าโภคภัณฑ์ที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้จะหมายความถึงวัตถุดิบที่จะถูกใช้ในกระบวนผลิตแปรรูปเป็นสินค้าทั่วไปซึ่งสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทนี้จะถูกแบ่งออกเป็นอีกสองประเภทด้วยกันตามหลักเกณฑ์แหล่งต้นกำเนิดของสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดนั้นๆได้แก่

Hard Commodity

สินค้าโภคภัณฑ์ประเภทนี้ที่มีแหล่งกำเนิดมาจากธรรมชาติเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไปโดยที่มนุษย์ไม่สามารถผลิตขึ้นมาเองเพื่อทดแทนวัตถุดิบนั้นๆได้ โดยส่วนมากแล้วสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทนี้จะได้มาจากการขุดเจาะและสกัดจากผืนแผ่นดินและในท้องทะเลลึกซึ่งตัวอย่างได้แก่ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ แร่โลหะที่มีมูลค่าสูงอย่าง เงิน ทองคำ ทองแดง เป็นต้น

Soft Commodity

ส่วนนี้เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่มนุษย์สามารถผลิตขึ้นมาได้ซึ่งโดยทั่วไปมักจะกล่าวถึงสินค้าทางการเกษตรที่มนุษย์เพาะปลูกขึ้นมาเอง โดยคุณสมบัติส่วนมากของสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทนี้มักจะมีอายุที่จำกัดในการจัดเก็บเพื่อใช้งานเป็นวัตถุดิบให้แก่อุตสาหกรรมอาหารของโลกต่อไป สินค้าประเภทนี้เราจะสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันอย่างมากมายล้นหลามตัวอย่างเช่นข้าว ข้าวโพด น้ำตาล เมล็ดกาแฟ เมล็ดโกโก้ ถั่วเหลือง ธัญพืชประเภทต่างๆ และเนื้อสัตว์ประเภทต่างๆ เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่างสินค้าโภคภัณฑ์และสินค้าทั่วไป

อย่างที่ได้อธิบายไปแล้วเบื้องต้นว่าสินค้าโภคภัณฑ์นั้นเป็นสินค้าที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าทั่วไปอีกที เมื่อวัตถุดิบเหล่านั้นถูกนำไปผลิตแปรรูปเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคอย่างเราๆสามารถนำมาใช้ได้และสินค้าประเภทนี้จึงถูกเรียกว่าเป็นสินค้าทั่วไป ดังนั้นสินค้าทั่วไปจึงหมายความถึงสินค้าอุปโภคบริโภคที่นำมาซื้อขายโดยตรงให้กับผู้บริโภคที่เป็นปลายสายของตลาด ดังนั้นเราก็เลยจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าความแตกต่างระหว่างสินค้าโภคภัณฑ์และสินค้าอุปโภคก็คือวัตถุประสงค์ในการนำสินค้าเหล่านั้นมาใช้งานว่าจะถูกใช้ทำอะไรและใครเป็นผู้ชื้อไปใช้งานนั้นเอง สินค้าทั่วไปเช่นเดียวกับสินค้าโภคภัณฑ์นั้นก็สามารถแบ่งประเภทออกได้เป็นสองประเภทได้แก่สินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าคงทนนั้นเอง

สินค้าอุปโภคบริโภค

กล่าวคือสินค้าที่ถูกขายให้กับผู้บริโภคซึ่งเป็นบุคคลสุดท้ายในห่วงโซ่ของการตลาดหรือที่ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า end consumer โดยสินค้าอุปโภคบริโภคนั้นจะมีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างสั้นและผู้บริโภคจะต้องซื้อมาซ้ำๆเพื่อการใช้งานซึ่งสินค้าอุปโภคมักจะมีวางจำหน่ายในตลาดทั่วไปเพื่อให้เข้าถึงแก่ผู้บริโภคได้โดยง่าย ดังนั้นสินค้าอุปโภคจึงมักจะถูกจัดแบ่งตามการตลาดซึ่งขึ้นกับลักษณธการซื้อของผู้บริโภคได้แก่สินค้าสะดวกซื้อสินค้าเปรียบเทียบซื้อสินค้าเจาะจงซื้อและสินค้าไม่แสวงซื้อ

สินค้าสะดวกซื้อ

สินค้าสะดวกซื้อเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคอย่างเราๆมีความจำเป็นต้องใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวันที่ราคาไม่แพงอาทิเช่นอาหารการกิน สบู่ แชมพู ยาสีฟัน ผงซักฟอก เป็นต้น

สินค้าเปรียบเทียบซื้อ

สินค้าเปรียบเทียบซื้อเป็นสินค้าที่ราคาจะสูงขึ้นมากว่าสินค้าสะดวกซื้อซึ่งถึงแม้จะมีความจำเป็นที่ต้องใช้เป็นประจำแต่ก็จะซื้อด้วยความถี่ที่ไม่บ่อยเท่ากับสินค้าสะดวกซื้อซึ่งสินค้าประเภทนี้มักจะถูกเปรียบเทียบยี่ห้อราคาและปัจจัยอีกมากมายกว่าผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อจึงได้ชื่อว่าเป็นสินค้าเปรียบเทียบนั้นเอง

สินค้าเจาะจงซื้อ

สินค้าประเภทนี้เรียกได้ว่าเป็นสินค้าประเภทที่มีการแข่งขันทางการตลาดค่อนข้างสูงด้วยการใช้กลยุทธ์ที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความภักดีหรือที่เรียกว่า Loyalty ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายหลักๆที่บริษัทและแบรนด์ทุกแบรนด์พยายามก้าวไปให้ถึงอาทิเช่น น้ำหอม เครื่องสำอาง โทรศัพท์มือถือและแลปท็อป เป็นต้น

สินค้าไม่แสวงซื้อ

สินค้าประเภทสุดท้ายนี้เป็นสินค้าที่ตรงตามชื่อเลยคือสินค้าที่ผู้บริโภคไม่แสวงหาหรือใช้ความสำคัญในการซื้อแต่อย่างใดซึ่งเป็นสินค้าประเภทที่บริษัทหรือแบรนด์จะต้องลงทุนในการเข้าหาและสร้างอุปสงค์ที่แตกต่างทางการตลาดให้แก่ผู้บริโภคเองอาทิเช่น วิตามินบำรุงและประกันประเภทต่างๆ เป็นต้น

สินค้าคงทน

เป็นสินค้าที่มีอายุการใช้งานมากกว่าสามปีโดยในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Durable Goods เป็นสินค้าที่อยู่ในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคและบางอย่างก็เป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตอาทิเช่นเครื่องเรือนเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านอย่างเครื่องซักผ้าตู้เย็นแอร์และเตาอบรวมไปถึงยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นมอเตอร์ไซค์รถยนต์รวมไปถึงเรือสำหรับบางคน นอกจากที่กล่าวไปเบื้องต้นแล้วยังมีสินค้าประเภทสินค้ากึ่งคงทนอย่างเช่นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มและอุปกรณ์ต่างๆในบ้านอย่างผ้านวมหมอนและเครื่องสำอางค์เป็นต้น

Click to rate this post!
[Total: 1 Average: 5]