เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จากการลากสายแลน สู่เทคโนโลยีไร้สาย Wi-Fi ที่เราใช้จนคุ้นเคยมาหลายปีแล้ว จริงอยู่ว่าสะดวกในการเชื่อมต่อและใช้งานง่าย แต่ความต้องการของผู้ใช้อย่างเราๆก็อยากได้เน็ตแรง เน็ตความเร็วสูง (หลอด) ไฟแรงเฟร่อ Li-Fi จึงเป็นอีกเทคโนโลยีที่น่าจับตามอง
เทคโนโลยี Li-Fi ถูกขนานนามว่า “แรงกว่า Wi-Fi เป็นร้อยเท่า” พาดหัวแบบนี้ ส่วนใหญ่สนใจ เพราะใครๆก็ต้องการความแรง ความเร็ว ยิ่งการดาวน์โหลด อัพโหลด ยิ่งไว ยิ่งใช้เวลาน้อย ตอนนี้อะไรก็ไวไปหมด เทคโนโลยี Li-Fi ที่คิดค้นในห้องแล็ป กำลังจะกลายเป็นความจริง โดยเฉพาะการใช้งานในออฟฟิศ และอุตสาหกรรมต่างๆ ใน Estonia ทุกที่ต้องการความแรงจริงๆ
Li-Fi ใช้หลักการถ่ายโอนข้อมูลโดยใช้หลอดไฟ LED ซึ่งปกติมีการกระพริบตลอดเวลาระดับ nanoseconds อันนี้ไม่แน่ใจว่าถ้าเทียบหน่วย น่าจะไวกว่า ถี่กว่า มิลลิวินาที มากๆ ซึ่งแน่นอนว่า สายตาเรา มองไม่ทันสังเกตการกระพริบอยู่แล้ว จริงๆไม่ใช่ของใหม่ แต่คิดค้นขึ้นในปี 2011 ในห้องแล็ป และมีความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลไวถึง 224 Gbps.
ซึ่งนับว่าเป็นการฉีกข้อจำกัดของสัญญาณ Wi-Fi ที่ดรอปความสามารถในการรับส่งสัญญาณลงเมื่อเจอกำแพง เพดาน โดย Li-Fi นั้นใช้หลอดไฟ แถมการใช้หลอดไฟก็ลดความเสี่ยงจากการถูกดักจับข้อมูล เพราะส่งผ่านข้อมูลด้วยหลอดไฟโดยตรง
ดูภาพแล้วนึกถึงการส่งรหัสมอร์สเลยทีเดียว หลักการประมาณนี้แหล่ะครับ
อ่านถึงตรงนี้ ก็อาจจะสงสัย เอ๊ะ งั้นใช้นอกอาคารก็ไม่ได้น่ะสิ จริงๆมันใช้ได้นะ แต่กลางแจ้งแบบสนามเลย ก็คงไม่ได้ ถึงตอนนั้น Wi-Fi ก็ยังมีการให้บริการอยู่ เราก็จะมี Wi-Fi, 3G, 4G ให้เลือกใช้หลากหลายช่องทางเชื่อมต่อ
สำหรับ Li-Fi นั้น ถือเป็นความสามารถในยุค smart home ต่อไปหลอด LED ให้ประโยชน์ได้ 2 อย่าง ทั้งให้แสงสว่าง และสร้างเครือข่ายในบ้าน เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ สื่อสารพูดคุยกันได้
ส่วนข้อแตกต่าง ระหว่าง Li-Fi กับ Wi-Fi ก็คงจะเป็นเรื่อง การรับส่งข้อมูลที่น่าจะถูกรบกวนและลดทอนที่น้อยกว่า และความปลอดภัยที่ดีกว่า อ้างอิง
นอกจากนี้ Velmenni บริษัท Startup พร้อมแล้วที่จะผลักดันแนวคิด Li-Fi จากห้องแล็ป สู่ลูกค้าจริงๆ ตอนนี้มีทั้ง Oledcomm และ pureLiFi ซึ่งผลักดันโดย Harald Haas
ตัวอย่าง Kit ที่ขาย
ซึ่งทั้ง 2 บริษัท นำเสนอชุดติดตั้งเครือข่าย Li-Fi ในสำนักงานและบ้าน และทาง pureLiFi ยังอ้างว่า ตอนนี้ให้บริการบนความเร็ว 10 Mbps ได้แล้ว
ข้อมูลเพิ่มเติม Pure Li-Fi oledcomm
ที่มา : adslthailand