Site icon I3siam | ข่าวไอที อัพเดทข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ ข่าวเทคโนโลยี

วิธีการป้องกันและรักษาโรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกวิธีการป้องกันและรักษาโรคไข้เลือดออก

ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกยังคงแพร่หลาย ทำให้ผู้คนจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบจากโรคนี้ โรคไข้เลือดออกเป็นโรคชนิดหนึ่งที่มีความร้ายแรง ซึ่งบางคนอาจเสียชีวิตด้วยโรคนี้ โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่ไม่มียาแบบรักษาหายขาด ซึ่งผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคนี้ต้องนอนรักษาอยู่ที่ทางโรงพยาบาลอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ เพื่อบรรเทาอาการติดเชื้อจนหายขาด วันนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับโรคไข้เลือดออก ว่าคืออะไร สาเหตุติดเชื้อ อาการ รวมไปถึงวิธีการป้องกันและรักษาโรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก คืออะไร

โรคไข้เลือดออก คือ โรคติดต่อชนิดหนึ่งที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ที่แพร่เข้าสู่ร่างกายคนจากการถูกกัดของยุงลายตัวเมีย ผู้ที่ได้รับการติดเชื้อไข้เลือดออกจากยุงลายจะมีไข้ขึ้นสูง มีอาการป่วยรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา ยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคเป็นยุงที่ออกหากินเฉพาะในตอนกลางวัน ซึ่งคนมักจะเข้าใจผิดว่า เป็นยุงในตอนกลางคืน ยุงลายในตอนกลางวันชอบอาศัยอยู่ในแถบอากาศร้อนชื้น จึงพบได้มากในประเทศเขตร้อนในทวีปเอเชีย แอฟริกา อเมริกากลาง อเมริกาใต้ ตอนเหนือของออสเตรเลีย และตามหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก จากการแพร่ระบาดในวงกว้างอย่างรวดเร็ว ไข้เลือดออกจึงเป็นหนึ่งในโรคที่องค์การอนามัยโลก ให้ความสนใจ และประกาศให้เป็นโรคที่ควรเฝ้าระวัง เพราะมีความรุนแรงที่อาจถึงชีวิตได้

เมื่อยุงลายที่ชอบอาศัยอยู่ในแถบที่มีอากาศร้อน และประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่อยู่ในเขตร้อน หรืออากาศร้อนแถบตลอดทั้งปีของบ้านเรา และยังพบว่ามีแหล่งเพราะพันธุ์ยุงลายชนิดนี้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะตามแอ่งน้ำที่มีฝนชุก ทำให้มียุงลายตัวเมียที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก อาศัยอยู่จำนวนมาก และทำให้ผู้คนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อไข้เลือดออก

อาการของโรคไข้เลือดออก

สำหรับอาการเบื้องต้นของโรคไข้เลือดออกนั้นจะมีลักษณะดังนี้ มีไข้สูง ตัวร้อน ปวดหัว ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย แต่ซึ่งอาการไข้สูงกับอาการปวดหัวจะแตกต่างกับคนที่เป็นไข้โดยทั่วไปหรือไม่สบาย เพราะอาการที่ติดเชื้อจากโรคไข้เลือดออก จะมีอาการที่มีไข้สูงและอาการปวดหัวที่มากกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้ไม่อยากลุกจากที่นอน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั่วลำตัว ในบางรายอาจคลื่นไส้อาเจียน อาจพบผื่นแดงหรือจ้ำเลือดใต้ผิวหนังทั่วตัว หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น มีเลือดออกตามเนื้อเยื่อในร่างกายในรายที่ร่างกายอ่อนแอและมีภูมิคุ้มกันต่ำ

สาเหตุของการเกิดโรคไข้เลือดออก

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก มาจากการไม่ระมัดระวังตัวเองหรือถูกยุงกัดโดยไม่ทันตั้งตัวในเวลากลางวัน ซึ่งเกิดจากยุงลายเพศเมียที่เป็นพาหะของโรค ดูดเลือดของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่ จากนั้นไวรัสเดงกี่จะเติบโตภายในท้องของยุงลาย เมื่อยุงลายกัดคนอื่นต่อไป เชื้อไวรัสนี้ก็จะแพร่เข้าสู่ร่างกายผู้ที่ถูกกัดไปด้วย ทำให้ผู้ที่ถูกกัดติดเชื้อและอาจคาดไม่ถึงว่าได้ติดเชื้อแพร่ระบาดนี้ เพราะในช่วงแรกที่ถูกกัด อาการจะยังไม่ออกชัดเจน เมื่อผ่านไปไม่กี่วันอาการจะเริ่มออกตามลักษณะดังที่กล่าวไว้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกอาจพัฒนาความรุนแรงไปสู่ภาวะโรค Dengue Hemorrhagic Fever ซึ่งจะทำให้มีไข้สูงขึ้น อาการปวดหัวรุนแรงขึ้นมากกว่าเดิม จนไม่อาจที่อยากจะลุกขึ้นจากเตียง เพราะอาการไข้และอาการปวดที่รุนแรงมากกว่าปกติ อาจมีภาวะเลือดออกตามเนื้อเยื่อและอวัยวะภายใน จนอาจทำให้เข้าสู่ภาวะ Dengue Shock Syndrome ซึ่งเป็นภาวะที่เสียเลือดมาก พลาสมารั่ว ความดันโลหิตต่ำ นำไปสู่การช็อกที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ เพราะฉะนั้นต้องคอยเฝ้าระมัดระวังและป้องกันให้ดี เพื่อไม่ให้โรคระบาดนี้เกิดขึ้นกับคุณ ที่เป็นสาเหตุนำไปสู่ภาวะที่รุนแรงขึ้น

การรักษาโรคไข้เลือดออก

การรักษาโรคไข้เลือดออก ในปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคไข้เลือดออกแบบหายขาดได้ จึงต้องไปนอนรักษาที่โรงพยาบาลเท่านั้น สำหรับอาการเบื้องต้นที่มีไข้สูงและอาการปวดหัวขั้นรุนแรง ต้องใช้ยารักษาอาการไข้กับยาแก้ปวดในเบื้องต้นก่อน โดยใช้ยาพาราเซตามอล ซึ่งเป็นยาประเภทแก้ปวดและลดไข้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ซึ่งจะมีผลต่อเซลล์เม็ดเลือด อาจกระทบต่อภาวะที่มีเลือดออกซึ่งทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิมได้  หลังจากนั้นให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาตามขั้นตอนของแพทย์ สำหรับผู้ที่ผู้ป่วยอาเจียนและอ่อนเพลียจากไข้ แพทย์จะให้น้ำเกลือเพื่อชดเชยการเสียน้ำในร่างกาย นอกจากนี้เป็นการรักษาตามอาการที่ป่วยและเฝ้าระวังการเกิดอาการแทรกซ้อน

การป้องกันโรคไข้เลือดออก

การป้องกันโรคไข้เลือดออก เราต้องดูแลตัวเองให้ดี โดยสามารถทำดังต่อไปนี้ ควรฉีดยากันยุงในห้องหรือในบ้านอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มียุงลายจำนวนมากและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายตามแอ่งน้ำหรือที่มีน้ำขัง และเมื่อพบเห็นควรทำลายทิ้ง เพื่อไม่ให้เกิดการเพาะพันธุ์รุ่นสู่รุ่น ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังค้นคว้าวัคซีนเพื่อฉีดป้องกันยุงลาย และกำลังอยู่ในช่วงวิจัยที่ยังไม่เป็นผล เพราะฉะนั้นเราต้องทำหน้าที่ดูแลและรักษาตัวเองให้ดี ซึ่งเป็นทางที่ดีที่สุด เมื่อถูกยุงลายกัด และมีอาการตามลักษณะต่าง ๆยังที่ได้กล่าวไป ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจโรคทันที เพราะถ้าหากติดโรคไข้เลือดออก เราจะได้ทำการรักษาได้ไวและหายเป็นปกติ

Click to rate this post!
[Total: 0 Average: 0]
Exit mobile version